United State of America

อเมริกาเป็นอันดับ 1 ของโลกในการเป็นจุดหมายสำหรับนักเรียนต่างชาติ การมาเรียนที่นี่ ก็ยังนับเป็นการเปิดโลกทัศน์ ทั้งเรื่องการศึกษาและชีวิต โดยมีตัวเลขในปีการศึกษา 2560-2561 มีนักศึกษาต่างชาติจำนวน 1,094,792 คนเดินทางไปศึกษาในสหรัฐฯ

Why USA?

USA Education System

โครงสร้างการศึกษาของอเมริกา มีระยะเวลาเรียนภาคบังคับจนจบมัธยมปลาย คือ 12 ปี  โดยแบ่งเป็น

  1. ระดับอนุบาล (ไม่ใช่ภาคบังคับ)
  2. ระดับประถมศึกษา(Elementary School): Grade 1 – 6 สำหรับนักเรียนอายุประมาณ 5 – 12 ปี
  3. ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School):Grade 7 – 12 สำหรับนักเรียนอายุประมาณ 13 – 18 ปี
  4. ระดับอุดมศึกษา การเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา สามารถเข้ามหาวิทยาลัยและเรียน ป.ตรี 4 ปี เหมือนไทย  แต่มีอีกช่องทางหนึ่งคือเข้าเรียนในวิทยาลัยชุมชน (Community College)  2 ปี และ Transfer เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในชั้นปีที่ 3 เลย ข้อแตกต่างคือ การเลือกเรียน ปี 1 และ 2 ที่วิทยาลัยชุมชน (Community College) จะมีค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าเรียนในมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ปี  จึงมีนักเรียนไทยส่วนหนึ่งที่เลือกไปเรียนต่อผ่านช่องทางนี้
  • โรงเรียนรัฐบาล (State School) นักเรียนต่างชาติสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลได้ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนและวีซ่าแบบ J-1 เท่านั้น แต่นักเรียนต่างชาติสามารถเรียนได้สูงสุดไม่เกิน 1 ปีการศึกษา
  • โรงเรียนเอกชน (Private School) โรงเรียนเอกชนในอเมริกานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนแบบไปกลับ คือพักอยู่กับครอบครัว  และมีแบบโรงเรียนประจำ Boarding School แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากรวมค่าที่พักและกินอยู่ โดยโรงเรียนประจำในอเมริกามีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ประมาณ 1.2 ล้านบาท
  1. วิทยาลัย 2 ปี (Junior College) เป็นหลักสูตร 2 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    • Transferable Program ผู้เรียนสามารถโอนหน่วยกิตไปเรียนต่อปีที่ 3 ของวิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีได้
    • 2) Terminal/Occupational Program เป็นหลักสูตร 2 ปี เน้นทางวิชาชีพ ความสามารถในงานเทคนิค และงานกึ่งวิชาชีพ สำเร็จแล้วได้รับอนุปริญญา
  1. วิทยาลัยประจำท้องถิ่น (Community College) เป็นหลักสูตร 2 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแบบแผนเดียวกับ Junior College เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
  2. วิทยาลัย (College) หลักสูตร 4 ปี สำเร็จแล้วได้รับปริญญาตรี บางแห่งเปิดสอนถึงระดับปริญญาโท
  3. มหาวิทยาลัย (University) เปิดสอนระดับปริญญาตรี (4 ปี) ปริญญาโท (1 – 2 ปี) และปริญญาเอก (4 ปี) เน้นการสอนและการค้นคว้าวิจัยในแง่วิชาการ
  4. สถาบันทางวิชาชีพ เป็นสถาบันทางวิชาชีพชั้นสูงโดยเฉพาะ เช่น แพทยศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น หลักสูตร 3-8 ปี แล้วแต่สาขาวิชา โดยปกตินักศึกษาจะเข้าศึกษาหลังจากที่สำเร็จปริญญาตรีมาแล้ว

มีการแบ่งเป็นหลายแบบขึ้นกับ ความต้องการของสถานศึกษา และความนิยมของท้องถิ่น ได้แก่

  1. ระบบ Semester แบ่งเป็น 2 Semester ๆ ละ 16 – 18 สัปดาห์ และอาจมี 1 หรือ 2 summer session
    • Fall Semester เปิดประมาณกันยายนถึงกลางธันวาคม
    • Spring Semester เปิดประมาณมกราคมถึงกลางเมษายน
    • Summer Semester เปิดประมาณกลางพฤษภาคมถึงสิงหาคม
  2. ระบบ Trimester แบ่งเป็น 3 เทอม ๆ ละ 3 เดือน
    • First เปิดประมาณกันยายนถึงธันวาคม
    • Second เปิดประมาณมกราคมถึงเมษายน
    • Third เปิดประมาฯพฤษภาคมถึงสิงหาคม
  3. ระบบ 4-1-4 แบ่งภาคเรียนเป็น 2 เทอม (Semester) เทอมละ 15 สัปดาห์ คั่นด้วยเทอมสั้น ๆ เรียกว่า Mini-term หรือ Interim เทอมสั้นนี้ มีระยะเวลาเรียน 1 เดือน
    • Fall เปิดประมาณกันยายนถึงธันวาคม
    • Mini-term หรือ Interim เปิดประมาณมกราคม ( 1 เดือน )
    • Spring เปิดประมาณกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 

Expense

สหรัฐอเมริกา มีความหลากหลายและตัวเลือกมากมาย ด้วยจำนวนสถาบัน ประเภทสถาบัน และที่ตั้ง ทำให้การประมาณค่าใช้จ่ายมีความแตกต่างกันได้อย่างมาก การวางแผนที่ดี จะทำให้นักเรียนสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้รัดกุมและถูกต้องยิ่งขึ้น

ติดใจเรื่องค่าใช้จ่าย? เราช่วยได้!

+666-2693-5956

How to Apply

1. หาข้อมูล เลือกสถาบัน Requirement and condition

เนื่องจากอเมริกา เป็นประเทศที่มีหลักสูตร สถาบันหลากหลายมากมาย ทุกสาขาวิชาก็ว่าได้ รวมถึงสาขาเฉพาะที่อาจหาไม่ได้จากที่อื่น หาข้อมูลและเปรียบเทียบ ให้ตรงกับความต้องการให้มากที่สุด

2. เอกสารการสมัคร

ในการยื่นสมัครในแต่ละระดับการศึกษา จะต้องใช้เอกสารที่แตกต่างกัน

3.ยื่นใบสมัคร Apply

นอกจากการสมัครเองแล้ว สามารถให้บริษัทตัวแทนสถาบันเดินเรื่องเตรียมเอกสาร และ ยื่นใบสมัครให้ได้เช่นกัน เทอมการเรียนของสหราชอาณาจักร คือ เดือนกันยายน แต่ปริญญาโทบางแห่ง บางหลักสูตรสาขา จะมีเปิดเทอมเดือนมกราคมด้วย

4.รอแจ้งการตอบรับ

สถาบันการศึกษาจะติดต่อผู้สมัคร (ทางอีเมล์) เพื่อแจ้งผลการสมัครและรับเข้าเรียน และหากสมัครเรียนผ่าน UCAS ก็จะสามารถติดตามผลการสมัครทางเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา โดยประมาณ 2-4 สัปดาห์ขึ้นไป

Visa

ขั้นตอนและเอกสารในการขอวีซ่านักเรียน

นักเรียนไทยที่เข้าไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ จะต้องมีวีซ่านักเรียนแบบ F-1 หรือ M-1(วิชาชีพ) โดย ProInterEd จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเตรียมการจองและตรวจเอกสารทุกขั้นตอน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. หลังจากยื่นใบสมัครและมีผลตอบรับ นักเรียนจะได้รับเอกสาร I-20 จากมหาวิทยาลัย (I-20 คือเอกสารสำคัญที่แสดงว่าข้อมูลของคุณได้รับการบันทึกในฐานข้อมูลของรัฐบาลที่เรียกว่า SEVIS และมหาวิทยาลัยจะออกเอกสารนี้ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการขอวีซ่านักเรียน)
  2. ชำระค่า the SEVIS I-901 ทางออนไลน์ และพิมพ์ใบเสร็จ
  3. ชำระค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า F-1
  4. กรอกเอกสารสมัครออนไลน์ แบบฟอร์ม DS-160 ( DS-160 VIsa Application ) กรอกให้ถูกต้องและครบถ้วน โดย ProInterEd จะช่วยดูแล แนะนำ กรอกและตรวจสอบให้ แนะนำว่าควรได้รับอนุมัติวีซ่าแล้วจึงค่อยกำหนดซื้อตั๋วเดินทาง
  5. นัดวันสัมภาษณ์ ผ่านเว็บไซต์  CGI Federal  และพิมพ์ใบยืนยันการนัดหมาย
  6. ไปสัมภาษณ์ ตามวัน เวลา ที่นัด ที่สถานทูตฯ (กทม) หรือสถานกงสุลสหรัฐฯ (เชียงใหม่) ควรถึงก่อนเวลานัดหมาย 30 นาที
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอวีซ่านักเรียน
  • พาสปอร์ตเล่มปัจจุบันที่ไม่หมดอายุ มีอายุอย่างน้อยอีก 6 เดือนหลังจากเข้าสหรัฐฯ กรณีเรียนนานกว่า 6 เดือน แนะนำให้ทำเล่มใหม่ใช้ยื่นสมัคร
  • ใบสมัคร แบบฟอร์ม DS-160 พิมพ์หน้าที่ยืนยันการยื่นขอสมัครเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  • ใบเสร็จการชำระค่าใบสมัครวีซ่าและใบเสร็จชำระ SEVIS
  • รูปถ่าย– นำไปด้วยกรณีตอน upload ออนไลน์ ไม่สำเร็จ ดูข้อกำหนดรูปถ่ายที่ ข้อกำหนดรูปถ่าย
  • แบบฟอร์ม I-20 ใบตอบรับเข้าเรียนจากมหาวิทยาลัย
  • เอกสารอื่นๆ
    • เอกสารด้านการเรียน Transcript,
    • ใบรับรองการจบการศึกษา ใบประกาศนียบัตรจบการศึกษา
    • ผลทดสอบด้านภาษา
    • เอกสารด้านการเงิน ของตัวเอง หรือ สปอนเซอร์
    • เอกสารประจำตัว สปอนเซอร์
    • สำเนาทะเบียนบ้านตัวเอง และสปอนเซอร์ ที่แสดงความสัมพันธ์
    • เอกสารอื่นๆ ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล ฯลฯ