United State of America

อเมริกาเป็นอันดับ 1 ของโลกในการเป็นจุดหมายสำหรับนักเรียนต่างชาติ การมาเรียนที่นี่ ก็ยังนับเป็นการเปิดโลกทัศน์ ทั้งเรื่องการศึกษาและชีวิต โดยมีตัวเลขในปีการศึกษา 2560-2561 มีนักศึกษาต่างชาติจำนวน 1,094,792 คนเดินทางไปศึกษาในสหรัฐฯ

Why USA?

USA Education System

โครงสร้างการศึกษาของอเมริกา มีระยะเวลาเรียนภาคบังคับจนจบมัธยมปลาย คือ 12 ปี  โดยแบ่งเป็น

  1. ระดับอนุบาล (ไม่ใช่ภาคบังคับ)
  2. ระดับประถมศึกษา(Elementary School): Grade 1 – 6 สำหรับนักเรียนอายุประมาณ 5 – 12 ปี
  3. ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School):Grade 7 – 12 สำหรับนักเรียนอายุประมาณ 13 – 18 ปี
  4. ระดับอุดมศึกษา การเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา สามารถเข้ามหาวิทยาลัยและเรียน ป.ตรี 4 ปี เหมือนไทย  แต่มีอีกช่องทางหนึ่งคือเข้าเรียนในวิทยาลัยชุมชน (Community College)  2 ปี และ Transfer เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในชั้นปีที่ 3 เลย ข้อแตกต่างคือ การเลือกเรียน ปี 1 และ 2 ที่วิทยาลัยชุมชน (Community College) จะมีค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าเรียนในมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ปี  จึงมีนักเรียนไทยส่วนหนึ่งที่เลือกไปเรียนต่อผ่านช่องทางนี้
  • โรงเรียนรัฐบาล (State School) นักเรียนต่างชาติสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลได้ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนและวีซ่าแบบ J-1 เท่านั้น แต่นักเรียนต่างชาติสามารถเรียนได้สูงสุดไม่เกิน 1 ปีการศึกษา
  • โรงเรียนเอกชน (Private School) โรงเรียนเอกชนในอเมริกานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนแบบไปกลับ คือพักอยู่กับครอบครัว  และมีแบบโรงเรียนประจำ Boarding School แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากรวมค่าที่พักและกินอยู่ โดยโรงเรียนประจำในอเมริกามีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ประมาณ 1.2 ล้านบาท
  1. วิทยาลัย 2 ปี (Junior College) เป็นหลักสูตร 2 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    • Transferable Program ผู้เรียนสามารถโอนหน่วยกิตไปเรียนต่อปีที่ 3 ของวิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีได้
    • 2) Terminal/Occupational Program เป็นหลักสูตร 2 ปี เน้นทางวิชาชีพ ความสามารถในงานเทคนิค และงานกึ่งวิชาชีพ สำเร็จแล้วได้รับอนุปริญญา
  1. วิทยาลัยประจำท้องถิ่น (Community College) เป็นหลักสูตร 2 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแบบแผนเดียวกับ Junior College เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
  2. วิทยาลัย (College) หลักสูตร 4 ปี สำเร็จแล้วได้รับปริญญาตรี บางแห่งเปิดสอนถึงระดับปริญญาโท
  3. มหาวิทยาลัย (University) เปิดสอนระดับปริญญาตรี (4 ปี) ปริญญาโท (1 – 2 ปี) และปริญญาเอก (4 ปี) เน้นการสอนและการค้นคว้าวิจัยในแง่วิชาการ
  4. สถาบันทางวิชาชีพ เป็นสถาบันทางวิชาชีพชั้นสูงโดยเฉพาะ เช่น แพทยศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น หลักสูตร 3-8 ปี แล้วแต่สาขาวิชา โดยปกตินักศึกษาจะเข้าศึกษาหลังจากที่สำเร็จปริญญาตรีมาแล้ว

มีการแบ่งเป็นหลายแบบขึ้นกับ ความต้องการของสถานศึกษา และความนิยมของท้องถิ่น ได้แก่

  1. ระบบ Semester แบ่งเป็น 2 Semester ๆ ละ 16 – 18 สัปดาห์ และอาจมี 1 หรือ 2 summer session
    • Fall Semester เปิดประมาณกันยายนถึงกลางธันวาคม
    • Spring Semester เปิดประมาณมกราคมถึงกลางเมษายน
    • Summer Semester เปิดประมาณกลางพฤษภาคมถึงสิงหาคม
  2. ระบบ Trimester แบ่งเป็น 3 เทอม ๆ ละ 3 เดือน
    • First เปิดประมาณกันยายนถึงธันวาคม
    • Second เปิดประมาณมกราคมถึงเมษายน
    • Third เปิดประมาฯพฤษภาคมถึงสิงหาคม
  3. ระบบ 4-1-4 แบ่งภาคเรียนเป็น 2 เทอม (Semester) เทอมละ 15 สัปดาห์ คั่นด้วยเทอมสั้น ๆ เรียกว่า Mini-term หรือ Interim เทอมสั้นนี้ มีระยะเวลาเรียน 1 เดือน
    • Fall เปิดประมาณกันยายนถึงธันวาคม
    • Mini-term หรือ Interim เปิดประมาณมกราคม ( 1 เดือน )
    • Spring เปิดประมาณกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 

Expense

สหรัฐอเมริกา มีความหลากหลายและตัวเลือกมากมาย ด้วยจำนวนสถาบัน ประเภทสถาบัน และที่ตั้ง ทำให้การประมาณค่าใช้จ่ายมีความแตกต่างกันได้อย่างมาก การวางแผนที่ดี จะทำให้นักเรียนสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้รัดกุมและถูกต้องยิ่งขึ้น

ติดใจเรื่องค่าใช้จ่าย? เราช่วยได้!

+666-2693-5956

How to Apply

Visa

ขั้นตอนและเอกสารในการขอวีซ่านักเรียน

นักเรียนไทยที่เข้าไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ จะต้องมีวีซ่านักเรียนแบบ F-1 หรือ M-1(วิชาชีพ) โดย ProInterEd จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเตรียมการจองและตรวจเอกสารทุกขั้นตอน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. หลังจากยื่นใบสมัครและมีผลตอบรับ นักเรียนจะได้รับเอกสาร I-20 จากมหาวิทยาลัย (I-20 คือเอกสารสำคัญที่แสดงว่าข้อมูลของคุณได้รับการบันทึกในฐานข้อมูลของรัฐบาลที่เรียกว่า SEVIS และมหาวิทยาลัยจะออกเอกสารนี้ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการขอวีซ่านักเรียน)
  2. ชำระค่า the SEVIS I-901 ทางออนไลน์ และพิมพ์ใบเสร็จ
  3. ชำระค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า F-1
  4. กรอกเอกสารสมัครออนไลน์ แบบฟอร์ม DS-160 ( DS-160 VIsa Application ) กรอกให้ถูกต้องและครบถ้วน โดย ProInterEd จะช่วยดูแล แนะนำ กรอกและตรวจสอบให้ แนะนำว่าควรได้รับอนุมัติวีซ่าแล้วจึงค่อยกำหนดซื้อตั๋วเดินทาง
  5. นัดวันสัมภาษณ์ ผ่านเว็บไซต์  CGI Federal  และพิมพ์ใบยืนยันการนัดหมาย
  6. ไปสัมภาษณ์ ตามวัน เวลา ที่นัด ที่สถานทูตฯ (กทม) หรือสถานกงสุลสหรัฐฯ (เชียงใหม่) ควรถึงก่อนเวลานัดหมาย 30 นาที
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอวีซ่านักเรียน
  • พาสปอร์ตเล่มปัจจุบันที่ไม่หมดอายุ มีอายุอย่างน้อยอีก 6 เดือนหลังจากเข้าสหรัฐฯ กรณีเรียนนานกว่า 6 เดือน แนะนำให้ทำเล่มใหม่ใช้ยื่นสมัคร
  • ใบสมัคร แบบฟอร์ม DS-160 พิมพ์หน้าที่ยืนยันการยื่นขอสมัครเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  • ใบเสร็จการชำระค่าใบสมัครวีซ่าและใบเสร็จชำระ SEVIS
  • รูปถ่าย– นำไปด้วยกรณีตอน upload ออนไลน์ ไม่สำเร็จ ดูข้อกำหนดรูปถ่ายที่ ข้อกำหนดรูปถ่าย
  • แบบฟอร์ม I-20 ใบตอบรับเข้าเรียนจากมหาวิทยาลัย
  • เอกสารอื่นๆ
    • เอกสารด้านการเรียน Transcript,
    • ใบรับรองการจบการศึกษา ใบประกาศนียบัตรจบการศึกษา
    • ผลทดสอบด้านภาษา
    • เอกสารด้านการเงิน ของตัวเอง หรือ สปอนเซอร์
    • เอกสารประจำตัว สปอนเซอร์
    • สำเนาทะเบียนบ้านตัวเอง และสปอนเซอร์ ที่แสดงความสัมพันธ์
    • เอกสารอื่นๆ ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล ฯลฯ